การคำนวณบีทียู
BTU = พื้นที่ห้อง(กว้างxยาว) x ตัวแปรตัวแปรแบ่งได้ 2 ประเภท
700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
800 = ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก
หมายเหตุ: กรณีที่ห้องสูงกว่า 2.5 เมตร บวกเพิ่ม 5 %
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
- จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
- ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
- วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
- จำนวนคนที่ใช้งานในห้อง
บีทียู (Btu : British Thermal Unit) คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ ) สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลรี่หรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความ ร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น มีความสามารถในการดึงความร้อน ออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่า บีทียู ต่อ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลัก วิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ตารางคำนวน ค่า BTU
![]() |
คำนวณค่า BTU แอร์ |
ทำไมต้อง BTU แอร์ให้พอเหมาะ?
BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลื้องพลังงานBTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลื้องพลังงานและเครื่องเสียเร็ว
ความรู้เกี่ยวกับ BTU แอร์ เป็นสิ่งที่ท่านควรรู้ก่อนซื้อแอร์นะครับ จะได้ซื้อให้เหมาะสมกับห้องที่ท่านต้องการจะติด เราขอจบเรื่องเกี่ยวกับ BTU แอร์แต่เพียงเท่านี้ครับ
BTU
ห้องปกติ
ห้องโดนแดด
9,000 12-15 ตร.ม. 11-14 ตร.ม.
12,000 16-20 ตร.ม. 14-18 ตร.ม.
18,000 24-30 ตร.ม. 21-27 ตร.ม.
21,000 28-35 ตร.ม. 25-32 ตร.ม.
24,000 32-40 ตร.ม. 28-36 ตร.ม.
25,000 35-44 ตร.ม. 30-39 ตร.ม.
30,000 40-50 ตร.ม. 35-45 ตร.ม.
35,000 48-60 ตร.ม. 42-54 ตร.ม.
48,000 64-80 ตร.ม. 56-72 ตร.ม.
80,000 80-100 ตร.ม. 70-90 ตร.ม.
ข้อพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
การคำนวณขนาดทำความเย็น (Cooling capacity หรือ BTU)ควรเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม เพราะการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะส่งผลให้ห้องมีความเย็นมากเกินไปทำให้เครื่องต้องเดิน-หยุดบ่อย นอกจากนี้ราคาเครื่อง และ ค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้เครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยใช้วิธีการคำนวณ บีทียู พื้นฐาน หรือ สอบถาม ช่างผู้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
ลักษณะการใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยดูประเภทของห้องว่าเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทำงาน ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ รูปแบบ (ตั้ง-แขวน, ติดผนัง, ตู้ตั้ง, ฝังเพดาน) เลือกรูปแบบของเครื่องปรับอากาศ โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง และความสะดวกในการดูแลรักษา (Maintenance)